รัฐศาสตร์เป็นสาขาวิช่าที่เน้นความเชี่ยวชาญให้ผู้เรียน สามารถตอบสนองความต้องการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยจะมีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย โดยมุ่งหวังในการพัฒนาบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านรัฐศาสตร์ ให้มีความรอบรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องในบทบาทหน้าที่ของตนเองในวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
1. ข้าราชการในกระทรวง ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าท่ี่บริหารงานทั่่วไป เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนบุคลากร เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาจารย์ นักวิชาการ
2. เจ้าหน้าที่ปกครอง ได้แก่ ปลัดอำเภอ ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. อบจ. เทศบาล กรุงเทพฯ และเมืองพัทยา)
3. ทหาร ตำรวจ
4. พนักงานของรัฐและเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิเคราะห์องค์การ
5. นักการเมืองระดับท้องถิ่น และระดับชาติ
6. องค์กรอิสระ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
7. องค์การภาคเอกชน ธนาคารพานิชย์ บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ได้แก่ ผู้จัดการ พนักงานฝ่ายบุคคล่ ธุรการ พนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป พนักงานสินเชื่อ พนักงานเร่งรัดหนี้สิน พนักงานฝ่ายประสานงานธุรกิจ อาจารย์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยเอกชน
8. เจ้าของกิจการ ประกอบอาชีพอิสระ
9. อาชีพอิสระอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจาก สกอ. กพ. และ กคศ.